2552-02-12

Which Naruto Character Are You?




click

Translate

1. คุณเป็นนินจาซึ่งทำภาระกิจบางอย่างอยู่ แล้วได้ยินเสียงบางอย่าง คุณจะ
ก. เรียกเสียงดังทันที่ว่า "นั่นใครน่ะ... ฉันได้ยินคุณนะ!! ฉันยิ่งใหญ่ แน่จริงก็มาสู้กับฉันสิ!!"
ข. หลบซ่อนเข้าในที่กำบังและคิดว่ากำลังมีสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้น และรับมือกับสิ่งนั้น
ค. โจมตีไปยังแหล่งที่คิดว่าน่าจะเป็นแหล่งเกิดเสียง เผื่อจะเป็นศัตรูที่จะมาทำร้ายคุณ
ง. หมอบราบ! และกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอันตราย และครวรคราญด้วยเสียง "อืม........."
จ. คิดว่าคงจะเป็นเสียงของตัวเองมากกว่า เพราะอาจจะสะดุดอะไรบางอย่างที่ทำให้เกิดเสียง


2. เมื่อถึงเวลาที่จะทำการสอบนินจา เมื่อได้รับข้อสอบหลายอย่าง คุณจะแสดงท่าทาง...

ก. เกาหัวเล็กน้อยและยิ้มแหะ ๆ ด้วยความงงกับข้อสอบที่รับไป (ฉันคงจะทำไมได้หรอกมั้ง)

ข. แสดงความดีใจสุดเวอร์!!! แล้วเปล่งเสียง "เย้! ฉันต้องทำได้แน่ ๆ"

ค. เขินอาย คิดว่าคงทำได้ไม่ดีเท่าไหร่ แต่พอไปได้

ง. ยิ้มเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแสดงอาการอะไร
จ. กระโดดดึ๋ง ๆ ด้วยความสุข เพราะรอคอยการสอบนินจามานานแล้ว

3. สอบผ่าน!! ยินดีด้วย!! คุณจะฉลองการสอบผ่านหรือเปล่า

ก. ไม่มีการฉลอง ไม่เข้าร่วมงานฉลอง ฝึกต่อไปให้แข็งแกร่งดีกว่า

ข. จัดงานแล้วรับประทานของที่จัดมาอย่างเอร็ดอร่อย

ค. ฉลองด้วยการพาแฟนออกเดท แล้วทานข้าวด้วยกัน
ง. จัดงานสาระพัด บ้าบิ่น ด้วยความสุข สนุกสาน
จ. สอบผ่านแล้วก็หายตัวไปทันที...โดยที่ไม่มีใครรู้

4. หากมีคนมาขอท้าสู้กับคุณ คุณจะ...
ก. แสดงท่าโกรธ โกรธมาก ๆ แต่ยังคงไม่ทำอะไร ไม่รับคำท้า ซึ่งคุณปฏิเสธด้วยความไม่พอใจ...

ข. เกิดอาการงง ๆ และสงสัยว่ามีเรื่องอะไรกันทำไมถึงมาท้าสู้!?

ค. ยิ้มแหะ ๆ แล้ว หายตัว!! (ก็คือหนีนั่นแหละ!!)

ง. รับคำท้าแล้วสู้ด้วยกัน
จ. ยิ้มรับ แล้วเตรียมพร้อม (ก็คือรับคำเหมือนกัน)


5. เมื่อคุณใกล้จะนอน คุณจะทำอะไรเป็นอย่างสุดท้ายก่อนนอน


ก. ไม่ได้ทำอะไรมาก คิดถึงสิ่งที่ผ่านมา และทบทวนถึงเหตุการณ์ในวันนี้ หรือไม่ก็มีอาการปวดท้องเล็กน้อย

ข. คิดถึงแฟนในเรื่องความรัก ว่าจะทำอะไรให้กับคนรักดี

ค. คิดถึงทีมเข้าร่วมของตัวเอง ว่าพรุ่งนี้จะทำอะไรบ้าง

ง. ตะโกนระบายความในใจว่า "พรุ่งนี้ จะต้องทำให้ได้ดีกว่านี้" แล้วนอนกรนไปเลย!!!

จ. เกิดความหิวเล็กน้อย จึงคิดหาของกินเบา ๆ ก่อนนอน

6. คุณมีชีวิตอยู่ แล้วต่อสู้เพื่ออะไร

ก. ปัจจุบันนี้

ข. อดีตที่ผ่านมา

ค. อนาคต

ง. ความรัก

จ. เพื่อน


7. ความในใจที่คุณอยากจะระบายคือ!? (สิ่งที่อยากจะบอก และตะโกนดัง ๆ)

ก. "ฉันจะไม่พูดถึงมันอีก"

ข. "ซักวัน...ฉันจะเข็มแข็ง และแข็งแกร่งให้ได้"

ค. "ฉันจะปกป้องคุณด้วยชีวิต!!!"

ง. "ฉันยิ่งใหญ่!!!"

จ. "เย้!!!"

(*´・ェ・)っ.゜+。★ (。・ω・)ノ゙ (ξ・з・)ξ (・Ω・)ノ (。Ф∀Ф。)o (ノω-ヾ) (ゝω´・)b
เฮ้ย!ไหงตรูได้ไอ้โตะวะ?

ร.ด.คืออะไร?

นักศึกษาวิชาทหาร หรือ นศท. (Army Reserve Force Students) นิยมเรียกกันว่า รด. เป็นกำลังสำรองของกองทัพไทยที่ฝึกหัดจากเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ภายใต้การควบคุมของกรมการรักษาดินแดน หรือ หน่วยบัญชาการกำลังสำรองในปัจจุบัน
ภายหลังจากการยกเลิกการฝึกยุวชนทหารในปี พ.ศ. 2490 ในปีถัดมา พลโท หลวงชาตินักรบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในสมัยนั้น ได้พิจารณาเห็นว่า การสงครามในอนาคตนั้น พลเมืองทุกคนไม่จำกัดเพศและวัย ย่อมจะต้องมีส่วนร่วมในสงครามด้วยกันทั้งสิ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายโครงสร้างของกองทัพ พร้อมกับพัฒนาระบบกำลังสำรองควบคู่กันไป
กระทรวงกลาโหมจึงจัดตั้งกรมการรักษาดินแดนขึ้น ตามพระราชบัญญัติ จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พุทธศักราช 2491 และคำสั่งทหารที่ 54/2477 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2491 เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว กิจการนักศึกษาวิชาทหารจึงเริ่มมีขึ้นนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

2552-02-11

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน

เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

1.ควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้

2.ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด

3.ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด

4.ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง

5.พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย



จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา

1.ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้

2.ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้ เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้

4.หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว5.ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้นจรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

1.ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้

2.ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง

3.ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า

4.ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ

5.จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล

6.ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก

7.ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง การค้า

8.การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้

9.ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก

10.หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจในการเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน

11.ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง

12.ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว

13.ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

14.ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา

15.ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น

16.เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น-IMHO-in my humble / honest opinion-FYI-for your information-BTW-by the way

17.การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก

18.ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น

19.ในการบอกรับข่าวด้วย mailing list และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก

บัญญัติ 10 ประการ

1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น

2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

3.ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น

4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์

7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ

10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท


㊐㊑㊒㊓㊔㊕㊖อ่านแล้วเอาไปใช้ด้วยล่ะ ส่วนข้าพเจ้านั้นจะไปหาไร'กิน บาย㊊㊐㊋㊌㊍㊎㊏